มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้พิจารณาเห็นสมควร ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลโดยทั่วไป เพื่อสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสามารถพัฒนาองค์ความรู้ ผลิตบัณฑิต และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และสอดคล้องกับกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว พ.ศ. 2561 - 2580 มาตรฐานระดับชาติและนานาชาติ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการด้านคุณภาพการศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นไปอย่างมีระบบและมีกลไกที่เหมาะสม จึงได้ประกาศนโยบายและแนวทางในการดำเนินงานดังต่อไปนี้ 1. นโยบายในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 มีดังนี้ |
1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัย มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ โดยมีการดำเนินการควบคุม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพของการบริหารจัดการและคุณภาพของผลผลิตอย่างต่อเนื่อง และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามปกติ |
2) สร้างวัฒนธรรมคุณภาพในการทำงาน โดยให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษามีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษา รักษาและเพิ่มพูนมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาให้อยู่ในระดับที่ดียิ่งขึ้น |
3) จัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจด้านการประกันคุณภาพแก่บุคลากรทุกระดับ ทั้งคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษารวมทั้งสนับสนุนให้นำความรู้ด้านการประกันคุณภาพมาใช้ในการดำเนินงาน |
4) พัฒนามาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินที่สะท้อนเป้าหมาย พันธกิจ และภารกิจของงานในแต่ละด้านให้ทันสมัยและสอดคล้องกับแนวทางในระดับประเทศ |
5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับบุคคล องค์กร และหน่วยงานภายนอกในการจัดกิจกรรมประกันคุณภาพการศึกษา |
6) จัดหาและพัฒนาระบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ที่สามารถนำไปสู่การควบคุม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพ |
7) ส่งเสริมให้มีการนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาไปปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ |
8) รายงานและเผยแพร่ผลการประกันคุณภาพการศึกษาสู่บุคลากรของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอก |
2. แนวปฏิบัติและการตรวจสอบ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการพัฒนาระบบการประกัน คุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยจึงกำหนดแนวทางการดำเนินการและการตรวจสอบไว้ดังนี้ |
1) จัดให้มีองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและรับผิดชอบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้นเป็นการเฉพาะ และมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบโดยชัดเจนในระดับไม่ต่ำกว่าอธิการบดี |
2) จัดให้มีการกำหนดนโยบายคุณภาพการศึกษาทั้งคุณลักษณะของบัณฑิต และแนวทางที่ได้มาของคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ทั้งในระดับมหาวิทยาลัย และระดับคณะเพื่อใช้ เป็นแนวทางในการกำหนดหลักสูตรและดำเนินการผลิตบัณฑิตต่อไป |
3) จากนโยบายคุณภาพการศึกษาของบัณฑิต มหาวิทยาลัยกำหนดปัจจัยที่จำเป็นในการดำเนินตามนโยบายคุณภาพการศึกษา ที่จะทำให้สามารถผลิตบัณฑิตได้ตามคุณลักษณะที่ต้องการ |
4) พัฒนาระบบการควบคุมคุณภาพขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดขึ้นในข้อ 3 ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับปรัชญา จุดมุ่งหมาย และลักษณะของ มหาวิทยาลัย รวมทั้งสอดคล้องกับหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน เพื่อยกระดับคุณภาพของการบริหารจัดการและคุณภาพของผลผลิตอย่างต่อเนื่องและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารตามปกติ |
5) จัดให้มีระบบการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการตามที่ได้ปฏิบัติตาม ข้อ 4 เพื่อเป็นการเตรียมตัวรับการตรวจสอบและประเมินคุณภาพจากภายนอก |
6) จัดให้มีการประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจกับบุคลากรในมหาวิทยาลัยทุกระดับถึงเหตุผล ความจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการควบคุมคุณภาพรวม ทั้งชี้แจงขั้นตอนและแนวปฏิบัติต่าง ๆ ให้ชัดเจน เพื่อสร้างวัฒนธรรมคุณภาพในการในการทำงาน ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในทุกระดับ |
7) พัฒนาคู่มือการปฏิบัติในการดำเนินการควบคุมคุณภาพของมหาวิทยาลัยโดยกำหนดขั้นตอน หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติโดยครบถ้วน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยนำไปปฏิบัติได้ |
8) การกำหนดเกณฑ์หรือมาตรฐานการปฏิบัติต่าง ๆ ให้ยึดถือเกณฑ์ที่สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในมาตรา 5 และมาตรา 47 วรรคสอง และประกาศกฎกระทรวงว่าด้วย ระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2546 และอาจกำหนดเพิ่มเติมได้ตามเอกลักษณ์และภารกิจของงานในแต่ละด้านของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับแนวทาง ในระดับประเทศ |
9) จัดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในทุกหน่วยงาน และประเมินระดับมหาวิทยาลัย เพื่อตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานของหน่วยงานและมหาวิทยาลัย เพื่อให้ทราบสถานภาพที่แท้จริง อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางและพัฒนาคุณภาพตามเกณฑ์ และมาตรฐานที่ตั้งไว้อย่างต่อเนื่อง |
10) ทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย จะต้องนำผลการประเมินภายในมาจัดทำ |
11) กำหนดให้ทุกหน่วยงานจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Improvement plan) หลังเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน เสนอต่อมหาวิทยาลัย |
12) กำหนดให้ทุกหน่วยงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ในงานประกันคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
13) จัดกิจกรรมด้านประกันคุณภาพ โดยเป็นการมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยกับบุคคล องค์กร และหน่วยงานภายนอกอย่างสม่ำเสมอ |
14) จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านการประกันคุณภาพกับนักศึกษา และสนับสนุนให้นักศึกษา นำความรู้ด้านการประกันคุณภาพมาใช้ในการจัดกิจกรรม และกำหนดให้มีระบบการติดตามประเมินผลและตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง |